แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำมูล

แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำมูล

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 1 of แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำมูล

Language: Thai

Published: Jan 1, 2023

Description:

การเกิดอุทกภัยหลักในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล เกิดจากสภาพกายภาพของลุ่มน้ำและลักษณะฝนที่ตกในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำมูลมีลักษณะต้นน้ำทางเป็นเทือกเขาสูงทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ถัดออกมาออกสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดเทมายังแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางพื้นที่ลุ่มน้ำจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก พื้นที่ตอนกลางริมแม่น้ำมูลเป็นพื้นที่ราบต่ำมีช่วงกว้างประมาณ 10 – 30 กิโลเมตร มีลำน้ำสายหลักหลายสายและไหลลงสู่แม่น้ำมูลตลอดเส้นทางการไหล นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำชีเป็นลำน้ำสายหลักของลุ่มน้ำชีไหลมารวมกับแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอวารินชำราบ จนไหลออกสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำมูลจึงเป็นลำน้ำเส้นเดียวในลุ่มน้ำที่ทำหน้าที่ระบายน้ำออกนอกพื้นที่ลุ่มน้ำที่ตั้งของลุ่มน้ำมูลจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิค ลงสู่อ่าวไทย อีกทั้งยังมีพายุ หรือมรสุมพัดผ่านอยู่บ่อยครั้งจึงทำให้ฝนตกหนักเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ ประกอบกับสภาพทางกายภาพในลุ่มน้ำดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังมี การทำลายป่าต้นน้ำประสิทธิภาพของระบบระบายน้ำไม่เพียงพอ เนื่องจากตื้นเขินหรือถูกบุกรุก มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น