สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
Book 1 of รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำวัง
Language: Thai
22 ลุ่มน้ำ น้ำท่วม รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำวัง แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมลุ่มน้ำวัง แม่น้ำวัง
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Published: Sep 1, 2023
ปัญหาน้ำท่วมและอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำวังโดยทั่วไปมีสาเหตุจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่มีความลาดชันของพื้นที่ลุ่มน้ำและลำน้ำสาขาที่สูง ทำให้ปริมาณน้ำไหลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้บริเวณลำน้ำมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางการไหลของน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพการระบายน้ำของระบบลำน้ำธรรมชาติไม่ดี สภาพลำน้ำบางแห่งและบางช่วงมีสภาพตื้นเขิน พื้นที่บางแห่งจึงประสบปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะในบริเวณที่ราบติดเชิงเขา โดยสภาพปัญหาน้ำท่วม และอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำวังสามารถสรุปสาเหตุหลักได้คือ 1. เกิดปริมาณฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ 2. ลักษณะที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำมีความลาดชัน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลอย่างรวดเร็ว 3. พื้นที่ป่าตันน้ำตอนบนถูกทำลาย ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและความสามารถในการชะลอน้ำหลากลดน้อยลง เป็นเหตุให้น้ำหลากลงมารวดเร็วกว่าในอดีต และบางพื้นที่เกิดเหตุการณ์ดินถล่มเมื่อมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยขึ้นได้ 4. การขาดแคลนแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก 5. ประสิทธิภาพของระบบระบายน้ำไม่เพียงพอเนื่องจากตื้นเขิน หรือถูกบุกรุก 6. การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน จากการพัฒนาของเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยขาดการ วางแผนในการบริหารจัดการน้ำ ทำให้มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวาง หรือถมที่ดินกีดขวาง ซึ่งเป็นเหตุให้ขนาดของทาง ระบายน้ำลดลง และมีท่อลอดไม่เพียงพอ หรือมีขนาดเล็กเกินไปที่จะระบายน้ำได้ทัน ทำให้มีน้ำเอ่อท่วม
Description:
ปัญหาน้ำท่วมและอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำวังโดยทั่วไปมีสาเหตุจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่มีความลาดชันของพื้นที่ลุ่มน้ำและลำน้ำสาขาที่สูง ทำให้ปริมาณน้ำไหลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้บริเวณลำน้ำมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางการไหลของน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพการระบายน้ำของระบบลำน้ำธรรมชาติไม่ดี สภาพลำน้ำบางแห่งและบางช่วงมีสภาพตื้นเขิน พื้นที่บางแห่งจึงประสบปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะในบริเวณที่ราบติดเชิงเขา โดยสภาพปัญหาน้ำท่วม และอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำวังสามารถสรุปสาเหตุหลักได้คือ 1. เกิดปริมาณฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ 2. ลักษณะที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำมีความลาดชัน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลอย่างรวดเร็ว 3. พื้นที่ป่าตันน้ำตอนบนถูกทำลาย ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและความสามารถในการชะลอน้ำหลากลดน้อยลง เป็นเหตุให้น้ำหลากลงมารวดเร็วกว่าในอดีต และบางพื้นที่เกิดเหตุการณ์ดินถล่มเมื่อมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยขึ้นได้ 4. การขาดแคลนแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก 5. ประสิทธิภาพของระบบระบายน้ำไม่เพียงพอเนื่องจากตื้นเขิน หรือถูกบุกรุก 6. การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน จากการพัฒนาของเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยขาดการ วางแผนในการบริหารจัดการน้ำ ทำให้มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวาง หรือถมที่ดินกีดขวาง ซึ่งเป็นเหตุให้ขนาดของทาง ระบายน้ำลดลง และมีท่อลอดไม่เพียงพอ หรือมีขนาดเล็กเกินไปที่จะระบายน้ำได้ทัน ทำให้มีน้ำเอ่อท่วม