โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม

โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 1 of โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม

Language: Thai

Published: Sep 1, 2023

Description:

พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ โดยมีที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขนาดใหญ่ตั้งแต่ตอนกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อเนื่องลุ่มน้ำท่าจีน พื้นที่ท้ายน้ำของลุ่มน้ำสะแกกรัง และลุ่มน้ำปาสัก สภาพปัญหาด้านน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา สภาพปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อุทกภัยในพื้นที่ตอนบนและลำน้ำสาขาต่าง ๆ เนื่องจากฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจนลำน้ำสายหลักไม่สมารถระบายน้ำได้ทัน มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ อาคารระบายน้ำมีขนาดไม่เพียงพอส่วนอุทกภัยในพื้นที่ราบแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลัก เนื่องจากลำน้ำสายหลักตื้นเขินประกอบกับเกิดน้ำเอ่อหนุนจากอ่าวไทย ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยพื้นที่ประสบปัญหาน้ำหลากท่วมจำแนกเป็น 3พื้นที่หลัก ได้แก่ เขตจังหวัดนครสวรรค์ (ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดชัยนาท) ทุ่งเจ้าพระยาตอนบน (ระหว่างจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และทุ่งเจ้าพระยาตอนล่าง (ตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาลงไป
โดยสาเหตุการเกิดปัญหาน้ำท่วม สรุปได้ดังนี้
1) การวางแผนการจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำต่างๆ 2) ศักยภาพในการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนมีไม่เพียงพอ แม้จะเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำม ลุ่มน้ำสะแกกรังและลุ่มน้ำน่านตอนล่าง แต่จะสามารถบรรเทาอุทกภัยได้เพียงในลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขาของที่ตั้งอ่างเก็บน้ำเท่านั้น 3) การรุกล้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำ 4) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่ราบลุ่มและพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อุตสาหกรรมโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดพระนคศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ เป็นต้น 5) ปริมาณน้ำหลากบางส่วนไหลเข้าเก็บกักในที่ราบลุ่มและที่ราบต่ำ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการระบายน้ำลดลงจึงเกิดอุทกภัยในปีน้ำมากรุนแรงเพิ่มขึ้น