สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
Book 1 of โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันแก้ไขภาวะน้ำท่วมลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวน้ำท่วม
Language: Thai
22 ลุ่มน้ำ รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันแก้ไขภาวะน้ำท่วมลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวน้ำท่วม
Publisher: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Published: Sep 1, 2023
ปัญหาด้านน้ำท่วมในภาพรวมของพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตัวเมืองและชุมชนตอนล่างใกล้ชายฝั่งทะเล โดยสามารถสรุปสาเหตุของปัญหาได้ดังนี้ 1) เกิดปริมาณฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณเขตอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำของลุ่มน้ำของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมดีเปรสชั่นจากทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ2) สภาพต้นน้ำลำธารอยู่ในสภาพที่มีการบุกรุกและทำลายป่า ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและชะลอน้ำหลากลดน้อยลง จึงทำให้น้ำหลากลงมารวดเร็วกว่าในอดีต และบางพื้นที่มีเหตุการณ์ดินถล่มหากมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยบริเวณตอนล่าง3)ระบบเก็บกักน้ำและซะลอน้ำหลากในลุ่มน้ำก่อนที่จะไหลเข้าสู่เขตเมืองและชุมชนมีไม่เพียงพอเนื่องจากการบุกรุกและมีสภาพตื้นเชินทำให้ระบบระบายน้ำผ่านตัวเมืองต้องรับภาระปริมาณน้ำหลากอย่างมากซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากที่เกิดขึ้นได้ จนเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัย4) ความสามารถในการระบายน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือน้ำไปสู่ท้ายน้ำผ่านตัวเมืองและเขตชุมชนนั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากได้อย่างปลอดภัย ขี่งสาเหตุอย่างหนึ่งเกิดจากการพัฒนาของเมืองอย่างไร้ระเบียบขาดการวางแผนที่ดี (Land Use Zoning) มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางหรือถมที่ดินกีดขวางและลดขนาดทางระบายน้ำ นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งของตัวเมืองและชุมชนหลายแห่งมีลักษณะเป็นที่ต่ำซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ5) พื้นที่ท้ายน้ำของตัวเมืองบางแห่งมีความลาดชันน้อย และบางแห่งได้รับอิทธิพลการหนุนของน้ำทะเลจากปากแม่น้ำรวมถึงการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้มีความสามารถในการระบายน้ำเป็นไปได้อย่างจำกัดสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำลันตลิ่ง (น้ำนอง) ในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
Description:
ปัญหาด้านน้ำท่วมในภาพรวมของพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตัวเมืองและชุมชนตอนล่างใกล้ชายฝั่งทะเล โดยสามารถสรุปสาเหตุของปัญหาได้ดังนี้
1) เกิดปริมาณฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณเขตอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำของลุ่มน้ำของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมดีเปรสชั่นจากทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
2) สภาพต้นน้ำลำธารอยู่ในสภาพที่มีการบุกรุกและทำลายป่า ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและชะลอน้ำหลากลดน้อยลง จึงทำให้น้ำหลากลงมารวดเร็วกว่าในอดีต และบางพื้นที่มีเหตุการณ์ดินถล่มหากมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยบริเวณตอนล่าง
3)ระบบเก็บกักน้ำและซะลอน้ำหลากในลุ่มน้ำก่อนที่จะไหลเข้าสู่เขตเมืองและชุมชนมีไม่เพียงพอเนื่องจากการบุกรุกและมีสภาพตื้นเชินทำให้ระบบระบายน้ำผ่านตัวเมืองต้องรับภาระปริมาณน้ำหลากอย่างมากซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากที่เกิดขึ้นได้ จนเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัย
4) ความสามารถในการระบายน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือน้ำไปสู่ท้ายน้ำผ่านตัวเมืองและเขตชุมชนนั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากได้อย่างปลอดภัย ขี่งสาเหตุอย่างหนึ่งเกิดจากการพัฒนาของเมืองอย่างไร้ระเบียบขาดการวางแผนที่ดี (Land Use Zoning) มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางหรือถมที่ดินกีดขวางและลดขนาดทางระบายน้ำ นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งของตัวเมืองและชุมชนหลายแห่งมีลักษณะเป็นที่ต่ำซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ
5) พื้นที่ท้ายน้ำของตัวเมืองบางแห่งมีความลาดชันน้อย และบางแห่งได้รับอิทธิพลการหนุนของน้ำทะเลจากปากแม่น้ำรวมถึงการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้มีความสามารถในการระบายน้ำเป็นไปได้อย่างจำกัดสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำลันตลิ่ง (น้ำนอง) ในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก