โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง

โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 1 of โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ รายงานการศึกษา แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง

Language: Thai

Published: Sep 1, 2023

Description:

จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประสบกับภาวะภัยแล้งอยู่เสมอในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้งขึ้นทั่วไป ประกอบกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ลดน้อยลง แต่ในพื้นที่มีความต้องการน้ำเป็นอย่างมากในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวและการรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยา ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำขึ้นในทุกอำเภอของจังหวัด การขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำงชีวิตของราษฎร เนื่องจากทำให้พื้นที่การเกษตรและผลผลิตการเกษตรลดน้อยลง นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวความแห้งแล้งที่เกิดในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในทุกพื้นที่ที่เป็นเกษตรน้ำฝน และขาดแคลนน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา มีสาเหตุมาจาก

1) ปริมาณฝนที่ตกลงในพื้นที่มีปริมาณน้อยเนื่องจากอยู่ในเขตอับฝน

2) พื้นที่ป่าไม้ทรุดโทรมมากขึ้น

3) ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน ความยาวลำน้ำสั้น เมื่อฝนตกลงมาจึงไหลลงสู่ทะเลอย่าง

4)  สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ ลำหัวย ลำคลองต่างๆ จึงมักเหือดแห้งในฤดูแล้ง

5) หลายหมู่บ้านไม่มีแหล่งน้ำดิบที่มีคุณภาพพอที่จะสร้างระบบประปาหมู่บ้านได้ เช่น น้ำบาดาลมีรสกร่อย

6) ศักยภาพน้ำใต้ดินมีขีดจำกัด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคมีปริมาณมากเนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

7) ความต้องการน้ำในด้านอุตสาหกรรมที่กำลังเจริญเติบโตมีมาก

8)  ความต้องการน้ำในเขตชลประทานมีมากเกินกว่าปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ได้ พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนที่มากพอรวดเร็ว