โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม)

โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม)

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 1 of โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม)

Language: Thai

Published: Jan 1, 2023

Description:

สภาพอุทกภัยในพื้นที่

1) ปริมาณฝนที่ตกหนักกว่าเกณฑ์ปกติโดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่  เมื่อฝนตกหนักในบริเวณเทือกเขา ทำให้เกิดภาวะน้ำปาไหลหลาก มีกำลังรุนแรงทำให้บ้านเรือนพัง พื้นที่การเกษตร เช่น ส่วนยางพารา และไม้ผล ได้รับความเสียหาย ลักษณะน้ำท่วมแบบนี้จะเกิดขึ้นเร็ว ภายหลังจากฝนตกหนักไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็สามารถลดระดับน้ำท่วมได้เร็วเช่นเดียวกันพื้นที่ที่เกิดปัญหาอุทกภัยในลักษณะนี้ ได้แก่ พื้นที่ลาดเชิงเขา เช่น สภาพน้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่บ้านคีรีวงศ์
จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2531 พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลาก ได้แก่ ชุมชนต่างๆที่อยู่ที่ลาดเชิงเขา ส่วนพื้นที่ตอนล่างบางแห่งลำคลองมีสภาพตื้นเขินในบางแห่งซึ่งทำให้มีน้ำไหลล้นตลิ่งและไหลบ่าท่วมบ้านเรือน

2) ทะเลสาบสงขลามีสภาพตื้นเขิน เนื่องจากทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งรองรับน้ำทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบกับการหนุนสูงขึ้นของน้ำทะเลทำให้การระบายน้ำออกจากทะเลสาบสงขลาลงสู่อ่าวไทยช้าลง ระยะเวลาน้ำท่วมขังจะใช้เวลาอย่างน้อย 10 วัน

3) การขยายตัวของชุมชนเมืองซึ่งส่งผลให้เกิดการรวมพื้นที่เพื่อรองรับอาคารที่อยู่อาศัย ย่านธุรกิจ การค้า และย่านอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่รองรับน้ำและพื้นที่พักน้ำชั่วคราวตามธรรมชาติลดลงไปอย่างมาก ดังนั้นปริมาณฝนจะแปรเปลี่ยนน้ำหลากไหลลงสู่ลำน้ำสายหลักได้อย่างรวดเร็ว

4) การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน ทางรถไฟ ปิดกั้นทางระบายน้ำที่เคยไหลในช่วงฤดูน้ำหลากในอดีตเป็นผลทำให้มีปริมาณน้ำสะสมระดับสูงขึ้น เช่น ถนนลพบุรีราเมศวร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เส้นทางรถฟสายใต้ (กรุงเทพ-สุไหงโกลก) เส้นทางรถไฟสายเก่าหาดใหญ่-สงขลา และถนนเชื่อมระหว่างอำเภอต่าง ๆ