โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง (แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม)

โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง (แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม)

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 1 of โครงการทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง (แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม)

Language: Thai

Published: Jan 1, 2023

Description:

อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างเกิดจากปริมาณฝนมากเกินกว่าความสามารถในการดูดชับของพื้นที่ต้นน้ำเกิดเป็นน้ำบ่บนผิวดินก่อนไหลรวมลงสู่ลำน้ำและไหลลงสู่พื้นที่ราบลุ่มปลายน้ำ ลักษณะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำแบ่งออกเป็น

(1) น้ำปำาไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขาตันน้ำ เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขาต้นน้ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานปริมาณฝนสะสมมีมากกว่าความสามารถที่สภาพพื้นที่และป่าไม้ตันน้ำจะดูดซับได้ไหลบ่าบนผิวดินลงสู่พื้นที่ราบต่ำเบื้องล่างอย่างรวดเร็ว น้ำท่วมในลักษณะนี้จะมีความรุนแรงสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ที่น้ำท่วมหลากไหลผ่านเนื่องจากมีความเร็วของน้ำสูง เมื่อมวลน้ำไหลลงสู่ลำน้ำแล้ว บริเวณใดที่ความจุลำน้ำน้อยกว่ามวลน้ำก็จะเกิดน้ำลันตลิ่งและไหลไปตามสภาพภูมิประเทศสู่ที่ลุ่มต่ำ หรือบริเวณจุดตัดลำน้ำที่มีสิ่งกีดขวางทำให้มวลน้ำระบายได้น้อยก็จะทำให้ระดับน้ำยกตัวสูงและไหลลันตลิ่งได้ หรือหากมวลน้ำมีพลังมากพอจะสร้างความเสียหายกับสิ่งกีดขวาง เช่น ถนน สะพาน อาคารท่อลอดถนน เช่น Box culvert, ท่อกลม ฯลฯ

(2) น้ำท่วมขัง มักเกิดในพื้นที่ตอนปลายของลุ่มน้ำซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำซึ่งระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือจุดบรรจบกับลำน้ำสายหลักหรือทะเลเนื่องจากระดับน้ำในทะเลหรือลำน้ำที่จุดบรรจบสูงทำให้ไม่สามารถระบายลงได้เกิดเป็นน้ำเท้อท่วมพื้นที่ปลายน้ำปริมาณฝนที่สูงมากนอกจากจะก่อให้เกิดน้ำป่าไหลหลากแล้วยังส่งผลให้เกิดภัยในอีกประเภทได้แก่ดินถล่มเนื่องจากปริมาณน้ำในดินมากแรงยึดเหนี่ยวของอนุภาคดินไม่เพียงพอเกิดการพังทลายซึ่งมักเกิดหลังจากมีน้ำป่าไหลหลาก