กรมทรัพยากรน้ำ
Book 1 of รายงานฉบับสมบูรณ์ (FINAL REPORT) โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
Language: Thai
MRC THAILAND รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) แม่น้ำโขง โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน โครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน
Publisher: กรมทรัพยากรน้ำ
Published: Jan 1, 2016
โครงการการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน เป็นการศึกษาเพื่อต้องการให้ประเทศไทยมีข้อมูล ข้อเท็จจริงเพียงพอ และทันเหตุการณ์ต่อการพัฒนาเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานเพอเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ของแม่น้ำโขงสายประธานของประชาชนและประเทศ โดยเน้นให้ความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในระยะยาวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีพื้นที่ศึกษาติดริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อํานาจเจริญ และอุบลราชธานีครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยโครงการได้กําหนดเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง (Potential risk area) ในประเด็นข้ามพรมแดนทั้ง 7 เรื่องตามขอบเขตการศึกษา ในปีพ.ศ. 2559 ได้แก่ ระดับน้ำอัตราการไหลของน้ำ การพังทลายของตลิ่ง การสะสมของตะกอน คุณภาพน้ำและอื่นๆ ประมงและการให้บริการระบบนิเวศ เพื่อใช้ในการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาของโครงการเพื่อลงสำรวจเก็บข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในด้านต่างๆ ตามหลักการและวิธีการตามมาตรฐานสากล ISO 31000 เรื่องการจัดการความเสี่ยง (Risk assessment) ซึ่งจะพิจารณาประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบข้ามพรมแดน (Consequences) ร่วมกับความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ของผลกระทบข้ามพรมแดน (Probability) โดยคัดเลือกเฉพาะพื้นที่ที่คาดวาจะได้รับผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรีและอยู่ติดริมแม่น้ำโขง
Description:
โครงการการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน เป็นการศึกษาเพื่อต้องการให้ประเทศไทยมีข้อมูล ข้อเท็จจริงเพียงพอ และทันเหตุการณ์ต่อการพัฒนาเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานเพอเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ของแม่น้ำโขงสายประธานของประชาชนและประเทศ โดยเน้นให้ความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในระยะยาวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีพื้นที่ศึกษาติดริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อํานาจเจริญ และอุบลราชธานีครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยโครงการได้กําหนดเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง (Potential risk area) ในประเด็นข้ามพรมแดนทั้ง 7 เรื่องตามขอบเขตการศึกษา ในปีพ.ศ. 2559 ได้แก่ ระดับน้ำอัตราการไหลของน้ำ การพังทลายของตลิ่ง การสะสมของตะกอน คุณภาพน้ำและอื่นๆ ประมงและการให้บริการระบบนิเวศ เพื่อใช้ในการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาของโครงการเพื่อลงสำรวจเก็บข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในด้านต่างๆ ตามหลักการและวิธีการตามมาตรฐานสากล ISO 31000 เรื่องการจัดการความเสี่ยง (Risk assessment) ซึ่งจะพิจารณาประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบข้ามพรมแดน (Consequences) ร่วมกับความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ของผลกระทบข้ามพรมแดน (Probability) โดย
คัดเลือกเฉพาะพื้นที่ที่คาดวาจะได้รับผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรีและอยู่ติดริมแม่น้ำโขง