รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด

Book 1 of รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

Language: Thai

Published: Jan 2, 2017

Description:

โครงการการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน เป็นการศึกษาเพื่อต้องการให้ประเทศไทยมีข้อมูล ข้อเท็จจริงเพียงพอ และทันเหตุการณ์ต่อการพัฒนา เขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ ของแม่น้ำโขงสายประธานของประชาชนและประเทศ โดยเน้นให้ความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในระยะยาว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ศึกษาติดแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อ้านาจเจริญ และอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่เป็น ระยะทาง15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยโครงการได้ดำเนินการทบทวนเกณฑ์ในการประเมินพื นที่มีแนวโน้มเสี่ยงใหม่ ให้สอดคล้องกับผลการศึกษามากยิ่งขึ้น เช่น ด้านระดับน้ำ อัตราการไหล และด้านการพังทลายตลิ่งและสะสมตะกอน เป็นต้น และดำเนินการศึกษาพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขง 28 อำเภอ ตลอดความยาวทั้ง 8 จังหวัด (ตามหลักการ และวิธีการ ตามมาตรฐานสากล ISO 31000 เรื่องการจัดการความเสี่ยง (Risk assessment) ซึ่งจะพิจารณาประเมินความ เสี่ยง โดยพิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบข้ามพรมแดน (Consequences) ร่วมกับความน่าจะเป็นที่จะเกิด เหตุการณ์ของผลกระทบข้ามพรมแดน (Probability) ซึ่งพื้นที่อำเภอที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงสูงในหลายประเด็นซ้ำกัน ในอำเภอเดียวกันที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านระดับน้ำอัตราการไหล การพังทลายของตลิ่ง และการสะสมตะกอน และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความ เสี่ยงด้านระดับน้ำอัตราการไหล ประมง และการบริการระบบนิเวศ ขณะที่ผลการประเมินด้านคุณภาพน้ำยังไม่สามารถระบุได้ เจาะจงในรายอำเภอ แต่สามารถประเมินได้เบื้องต้นว่าน้ำในแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดที่อยู่ตอนบนมีโอกาสที่จะมีปริมาณ สารอาหาร (ไนเตรต) สูงใกล้กับค่ามาตรฐาน หรือเกินค่ามาตรฐานในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ามี โอกาสจะได้รับผลกระทบมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ นอกจากนี โครงการฯ ได้กำหนดมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบฯ และมาตรการการปรับตัวต่อผลกระทบและความเสี่ยงสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงสูง โดยมาตรการ ในแต่ละด้านจัดท้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนที่ได้รับความเสี่ยง และเน้นการใช้ประโยชน์จากการให้บริการ ของระบบนิเวศ เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถในการปรับตัว ที่สามารถดำเนินงานได้ด้วยทรัพยากรของชุมชนเป็นหลักก่อน และขอการสนับสนุนของหน่วยงานรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องที่เกินขีดความสามารถ