สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
Book 1 of โครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 จังหวัดเลย
Language: Thai
บริหารจัดการน้ำ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำเลย แม่น้ำโขง
Publisher: ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทรัพยากรน้ำ
จากสภาพปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในภาคอีสาาน เนื่องมาจากเกษตรกรมีรายได้น้อย ไม่มีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากน้ำ ในการนำมาใช้ด้านการเกษตร นอกจากนั้นในหลายพื้นที่มีความเสี่ยงในการเป็นทะเลทราย เนื่องจากความแห้งแล้งซ้ำซาก แม่น้ำดขงเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศที่มีปริมาณน้ำมาก สามารถนำใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรอย่างทั่วถึง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โครงการที่เป็นการใช้ประโยชน์จากปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่มากเพียงพอในช่วงฤดูฝน และมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมในการส่งน้ำโดยแนงโน้มถ่วง กระจายให้พื้นที่การเกษตรทั่วภาคอีสาน มีปริมาณน้ำมากเท่ากับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์จำนวน 15 โครงการ แต่มีผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพน้อยกว่ามาก และเป็นโครงการที่สามารถพลิกฟื้นภาคอีสานให้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยบรรเทาปัญหาฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน และมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มมากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงต่อรองและจัดการทรัพยากรต่างๆ นำไปสู่เกษตรกรในภาคอีสานมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยลดจำนวนคนจน ช่วยลดการอพยพแรงงาน เศรษฐกิจของภาคและประเทศเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
Description:
จากสภาพปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในภาคอีสาาน เนื่องมาจากเกษตรกรมีรายได้น้อย ไม่มีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากน้ำ ในการนำมาใช้ด้านการเกษตร นอกจากนั้นในหลายพื้นที่มีความเสี่ยงในการเป็นทะเลทราย เนื่องจากความแห้งแล้งซ้ำซาก แม่น้ำดขงเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศที่มีปริมาณน้ำมาก สามารถนำใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรอย่างทั่วถึง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โครงการที่เป็นการใช้ประโยชน์จากปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่มากเพียงพอในช่วงฤดูฝน และมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมในการส่งน้ำโดยแนงโน้มถ่วง กระจายให้พื้นที่การเกษตรทั่วภาคอีสาน มีปริมาณน้ำมากเท่ากับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์จำนวน 15 โครงการ แต่มีผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพน้อยกว่ามาก และเป็นโครงการที่สามารถพลิกฟื้นภาคอีสานให้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยบรรเทาปัญหาฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน และมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มมากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงต่อรองและจัดการทรัพยากรต่างๆ นำไปสู่เกษตรกรในภาคอีสานมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยลดจำนวนคนจน ช่วยลดการอพยพแรงงาน เศรษฐกิจของภาคและประเทศเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน