รายงานสรุปข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำภาพรวมทั้งประเทศ,ม.เกษตรศาสตร์,มิถุนายน 2563

รายงานสรุปข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำภาพรวมทั้งประเทศ,ม.เกษตรศาสตร์,มิถุนายน 2563

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Book 1 of โครงการจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำ

Language: Thai

Published: Jun 1, 2020

Description:

รายงานสรุปข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำภาพรวมทั้งประเทศ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,มิถุนายน 2563

พัฒนาการแบ่งลุ่มน้ำในประเทศไทย ได้มีการพัฒนามาตลอดตั้งแต่ปี 2506 ตามศักยภาพของ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น จนกระทั่งในปี 2536 คณะกรรมการอุทกวิทยา แห่งชาติได้จัดทำเป็นมาตรฐาน 25 ลุ่มน้ำหลักและ 254 ลุ่มน้ำสาขา พร้อมแผนที่ โดยแยกเป็นแต่ละลุ่มน้ำ แสดงรายชื่อ รหัสลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขา และเมื่อปี 2550 ได้ทบทวนโดยสำนักวิจัยพัฒนาและอุทก วิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ตลอดจนคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ใน มาตราส่วน 1:50,000 อ้างอิงแผนที่ภูมิประเทศ L7018 WGS84 ทั้งแผนที่จุดภาพ (Raster Map) และแผน ที่กระดาษ ของกรมแผนที่ทหาร โดยได้จัดทำมาตรฐานการแบ่งลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขาของประเทศไทย โดยได้มีการแบ่งพื้นที่ของประเทศไทยออกเป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก และมีการแบ่งย่อยออกเป็น 254 ลุ่มน้ำ สาขา ซึ่งผู้ที่ดำเนินการศึกษาและวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำได้ยึดถือสำหรับการใช้ในการแบ่งพื้นที่ลุ่ม น้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำ แต่อย่างไรก็ตามในการแบ่งลุ่มน้ำสาขาต่างๆ ยังคงมีบางส่วนที่ยังเป็นประเด็น ที่ทำให้ไม่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากบาง พื้นที่มีขนาดเล็กและเป็นพื้นที่ภูเขาซึ่งมีผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารจัดการน้ำน้อย แต่บางพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่ต่อเนื่องเป็นพื้นที่ราบกว้างต่อเชื่อมกับลุ่มน้ำสาขาหลายๆ ลุ่มน้ำและมีผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารจัดการน้ำมากแต่ไม่สามารถวิเคราะห์ให้ทราบปริมาณน้ำที่จุดบรรจบที่ สำคัญต่างๆ ตามแนวลำน้ำหลักที่จะเป็นจุดที่ทำให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน การบริหารจัดการน้ำจะต้องดำเนินการอย่างทันเหตุการณ์และต่อเนื่อง นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถึงลุ่มน้ำ หลักทั้ง 25 ลุ่มน้ำ พบว่าลุ่มน้ำหลักหลายๆ ลุ่มน้ำมีขนาดเล็ก บางลุ่มน้ำหลักมีความสัมพันธ์เชิงอุทกวิทยา และการบริหารจัดการน้ำที่คาบเกี่ยวกับลุ่มน้ำหลักอื่นๆ ทำให้มีจำนวนลุ่มน้ำหลักมาก และไม่สามารถที่จะ บริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นเอกเทศ ตัวอย่างเช่น ลุ่มน้ำปราจีนบุรีซึ่งไหลลงสู่ลุ่มน้ำบางปะกงการบริหาร จัดการน้ำของลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่างต้องอาศัยน้ำจากลุ่มน้ำปราจีนบุรีเป็นแหล่งน้ำต้นทุน ลุ่มน้ำท่าจีนที่มี ต้นน้ำและใช้น้ำร่วมกันกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างรวมทั้งมีลักษณะทางกายภาพและอุทกวิทยาที่ คล้ายคลึงกัน และลุ่มน้ำภาคใต้ซึ่งแบ่งเป็นลุ่มน้ำเล็กๆ ตามแนวชายฝั่งลงไปตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนถึงภาคใต้ ตอนล่าง เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำที่จะมีการแต่งตั้งขึ้น ต่อไปในอนาคตสามารถดำเนินการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีเอกเทศและมีประสิทธิภาพทันต่อสถานการณ์ จึงได้มีการทบทวนการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำประธานที่เหมาะสม โดยมีการรวมลุ่มน้ำหลักบางลุ่มน้ำเข้าด้วยกัน เป็นลุ่มน้ำประธาน รวมทั้งการแบ่งลุ่มน้ำสาขาที่ชัดเจนแต่มีจำนวนไม่มากเกินความจําเป็นและนำมาใช้ ร่วมกันกับลุ่มน้ำสาขาย่อยที่มีการแบ่งอย่างถูกหลักทางอุทกวิทยาและประกอบกับข้อมูลการตรวจวัดสภาพ น้ำ ณ เวลาปัจจุบัน จะช่วยทำให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำและสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2563 สทนช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของระบบลุ่มน้ำใหม่ โดยจัดทำเป็นรายงานสรุปข้อมูลพื้นฐานของลุ่มน้ำ ทั้งในภาพรวมทั้งประเทศ และในแต่ละลุ่มน้ำ ทั้งหมด 22 ลุ่มน้ำ โดยจัดเรียงข้อมูลตามบทต่าง ๆ ดังนี้

บทที่ 1 ลุ่มน้ำของประเทศไทย

บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำ

บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐาน

บทที่ 4 ความต้องการใช้น้ำ

บทที่ 5 สภาพปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ

บทที่ 6 แผนแม่บทและการบริหารจัดการลุ่มน้ำ