สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
Book 13 of โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดนครพนม
Language: Thai
นครพนม ประชาสัมพันธ์ ภัยแล้ง ลุ่มน้ำสงคราม อุทกภัย
Publisher: กองบริหารจัดการลุ่มน้ำ
การดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ของโครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดนครพนมมีขอบเขตพื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม ห้วยคอง ห้วยน้ำยาม ห้วยน้ำอูน ห้วยฮี้ รวมถึงพื้นที่ลุ่มน้ำข้างเคียงหรือเกี่ยวเนื่องซึ่งอาจเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาโครงการที่มีความเชื่อมโยงกันแผนที่แสดงขอบเขตลุ่มน้ำสงคราม ที่ราษฎรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยึดอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ คณะที่ปรึกษาจะดำเนินงานประชาสัมพันธ์มวลชนสัมพันธ์ บูรณาการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและของทุกภาคส่วน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีความมุ่งมั่นในการที่จะบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำของแม่น้ำสงคราม โดยการดำเนินงานจะประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารของโครงการ ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน รวมทั้งการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดการศึกษาโครงก ารตามขอบเขตงานการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามขอบเขตการศึกษาวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานการมีส่วนร่วม แผนงานการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การดำเนินการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการตลอดระยะเวลาในการศึกษาโครงการ และการจัดทำรายงานการรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา การวางแผนรูปแบบกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นระหว่างการศึกษา สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วยเสียในกลุ่มต่างๆ โดยจะพิจารณา จากแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 รวมทั้งแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กันยายน 2561 (ฉบับล่าสุดที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป) แนวทางในคู่มือส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2559)ระเบียบและข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสอดคล้องตามบทบัญญัติของกฎหมายรวมทั้งระเบียบและข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชาชนให้การยอมรับ และโครงการสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
Description:
การดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ของโครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดนครพนมมีขอบเขตพื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม ห้วยคอง ห้วยน้ำยาม ห้วยน้ำอูน ห้วยฮี้ รวมถึงพื้นที่ลุ่มน้ำข้างเคียงหรือเกี่ยวเนื่องซึ่งอาจเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาโครงการที่มีความเชื่อมโยงกันแผนที่แสดงขอบเขตลุ่มน้ำสงคราม ที่ราษฎรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยึดอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ คณะที่ปรึกษาจะดำเนินงานประชาสัมพันธ์มวลชนสัมพันธ์ บูรณาการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและของทุกภาคส่วน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีความมุ่งมั่นในการที่จะบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำของแม่น้ำสงคราม โดยการดำเนินงานจะประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารของโครงการ ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน รวมทั้งการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดการศึกษาโครงก ารตามขอบเขตงานการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามขอบเขตการศึกษาวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานการมีส่วนร่วม แผนงานการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การดำเนินการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการตลอดระยะเวลาในการศึกษาโครงการ และการจัดทำรายงานการรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา การวางแผนรูปแบบกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นระหว่างการศึกษา สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วยเสียในกลุ่มต่างๆ โดยจะพิจารณา จากแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 รวมทั้งแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กันยายน 2561 (ฉบับล่าสุดที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป) แนวทางในคู่มือส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2559)ระเบียบและข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสอดคล้องตามบทบัญญัติของกฎหมายรวมทั้งระเบียบและข้อปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชาชนให้การยอมรับ และโครงการสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด