เล่มที่ 2 รายงานฉบับหลัก ฉบับที่ 2/2

เล่มที่ 2 รายงานฉบับหลัก ฉบับที่ 2/2

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 2 of โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่

Language: Thai

Description:

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรมและยั่งยืนนั้น นอกจากการมองภาพรวมในระดับลุ่มน้ำหลักของประเทศแล้ว ความรู้ความเข้าใจสภาพของแต่ละพื้นที่ในระดับลุ่มน้ำย่อยหรือในระดับพื้นที่ย่อยก็มีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่ย่อยจะส่งผลกระทบต่อระดับพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นดังนั้น การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้น้ำในทุกกิจกรรม แม้ว่าจะมีมาตรการและโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้น แต่ทว่าการดำเนินการดังกล่าวยังขาดการติดตามและประเมินผลอย่างชัดเจน ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักที่ในการบริหารน้ำของประเทศจึงมีหน้าที่สำคัญในการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกมิติ เพื่อนำไปปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และคุ้มค่าต่อการลงทุนดำเนินโครงการ ประกอบกับพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่เป็นพื้นที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและฐานการผลิตของประเทศ จากการศึกษาติดตามประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมากทั้งหน่วยงานราชการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ แต่ละหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต้นสังกัดที่มีกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงส่งผลกระทบให้การดำเนินงานทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติประสบปัญหาด้านความไม่มีเอกภาพและขาดการบูรณาการ โดยไม่มีผู้รับผิดชอบหลักและการบังคับบัญชาให้เกิดการดำเนินการขาดความชัดเจน รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานก่อนหลังทำให้การดำเนินงานมีความล่าช้า ซ้ำซ้อน ไม่สามารถผลักดันการดำเนินงานด้านการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วเท่าที่ควร นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์และประเมินการมีส่วนร่วมสามารถสรุปประเด็นปัญหาในภาคการมีส่วนร่วมของประชาชนสะท้อนภาพปัญหาดังรูปที่ 1.1-1 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดการจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จึงต้องบูรณาการหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ (กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่) พร้อมทั้งเร่งรัดการดำเนินการได้ทันทีในโครงการที่มีความพร้อมต่อไป