เล่มที่ 1 รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

เล่มที่ 1 รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

บริษัทปัญา คอนซัลเตนท์จำกัด,บริษัทครีเอทีพ เทคโนโลยีจำกัด

Book 1 of โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชี

Language: Thai

Description:

ข้อสรุป

  1. ลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 49,130 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,706,152 ไร่ (30.71 ล้านไร่) ครอบคลุม 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี โดยพื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ตามลำดับ ลุ่มน้ำชีมีพื้นที่ป่าไม้รวม 5,091,486 ไร่ (5.09 ล้านไร่) คิดเป็นร้อยละ 16.58 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 20,436,852 ไร่ (20.44 ล้านไร่) คิดเป็นร้อยละ 66.56 ของพื้นที่ลุ่มน้ำในจำนวนนี้มีพื้นที่เกษตรศักยภาพที่ดินมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช 19,564,531 ไร่ (19.56 ล้านไร่) คิดเป็นร้อยละ 63.72 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 1,188 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 11,994 ล้านลูกบาศก์เมตร มีประชากร 5,953,334 คน (5.95 ล้านคน) ความต้องการน้ำทุกภาคส่วน 5,068 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ความสามารถในการเก็บกักน้ำของโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลางมีเพียง 5,687 ล้านลูกบาศก์เมตร
  2. การคาดการณ์ในอนาคต 20 ปีในพื้นที่ลุ่มน้ำชีในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำและการใช้น้ำเช่น การเพิ่มของประชากร นักท่องเที่ยว โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่การเกษตรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    1. การเพิ่มของประชากร ในปี พ.ศ. 2560 มีประชากรที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำชีมีจํานวนรวมทั้งสิ้น 5,953,334 คน (5.95 ล้านคน) และจากการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2580 จํานวนประชากรรวมทั้งสิ้น 6,386,218 คน(6.38 ล้านคน)
    2. นักท่องเที่ยว ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวรวม4,267,102 คน(4.27 ล้านคน)คาดว่าจะเพิ่มเป็น 8,975,513 คน (8.98 ล้านคน)ในอนาคต 20 ปี
    3. ด้านอุตสาหกรรม ในปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมในลุ่มน้ำชีรวม 16,055 โรงงาน จากสถิติการขยายตัวของ GPPคาดว่าจะมีการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 3.40ต่อปี
    4. พื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำชี20,436,852 ไร่(20.44 ล้านไร่)เป็นพื้นที่ชลประทานและพื้นที่รับประโยชน์รวม4,601,179 ไร่ (4.60 ล้านไร่)มีพื้นที่เกษตรที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานและพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มได้อีก 4,949,136 ไร่ (4.95ล้านไร่)โดยถ้ามีการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำในลุ่มน้ำชีเต็มศักยภาพ มีพื้นที่ชลประทานและพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 2,887,380 ไร่ (2.89 ล้านไร่)และถ้ามีการผันน้ำโขงมีพื้นที่ชลประทานรับประโยชน์เพิ่มขึ้น2,061,756 ไร่(2.06 ล้านไร่) รวมพื้นที่ชลประทานและพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมด 9,550,315 ไร่ (9.55 ล้านไร่)
    5. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศลุ่มน้ำชีจะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณฝนสะสมรายปีมีแนวโน้มลดลง ปริมาณน้ำท่ามีแนวโน้มลดลง ส่งผลกระทบต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำมากขึ้นในอนาคต
  3. ความต้องการใช้น้ำในปัจจุบันและอนาคตในการประเมินความต้องการใช้น้ำในปัจจุบันในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การเกษตรและการปศุสัตว์ ในการประเมินความต้องการใช้น้ำในอนาคต 20 ปี ได้พิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของประชากร นักท่องเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ ของพื้นที่ลุ่มน้ำชี การขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมือง ความต้องการใช้น้ำในภาคเกษตรและปศุสัตว์ การใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม ในกรณีต่าง ๆ การใช้น้ำเมื่อมีการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำเต็มศักยภาพในลุ่มน้ำชีและกรณีการผันน้ำโขง โดยประเมินความต้องการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ
  4. โครงการแหล่งน้ำและโครงการชลประทานในปัจจุบันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในพื้นที่ลุ่มน้ำชี ประกอบด้วย โครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จํานวนโครงการรวม 2,765โครงการ ความจุเก็บกักโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมประมาณ 5,687.26 ล้านลูกบาศก์เมตรมีพื้นที่ชลประทานรวมประมาณ 3,446,187ไร่(3.44 ล้านไร่)และมีพื้นที่รับประโยชน์ 1,154,992ไร่(1.15 ล้านไร่)
  5. สภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำชีสรุปได้ดังนี้
    1. สภาพปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำชีในปัจจุบัน พื้นที่ลุ่มน้ำชีประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และน้ำเสีย เกิดขึ้นเป็นประจํา เกิดผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การสูญเสียรายได้ ทรัพย์สินมากมายในแต่ละปี โดยเฉพาะภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจําในช่วงฤดูแล้งของทุกปี เป็นปัญหาต่อเนื่องในด้านเศรษฐกิจสังคม ทําให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่มีรายได้ต่ํา การอพยพโยกย้ายแรงงาน และรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในพื้นที่ลุ่มน้ำชีต่ํากว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศไทย
    2. สภาพปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำชีในอนาคตด้านภัยแล้ง น้ำท่วม และน้ำเสียที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากสาเหตุต่าง ๆ ข้างต้น จะส่งผลทําให้เกิดปัญหาที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากการเพิ่มขึ้นของประชากร นักท่องเที่ยว การขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมือง การขาดแหล่งบําบัดน้ำเสีย การใช้น้ำเพื่อการเกษตรที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มอุณหภูมิ การลดลงของปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า
  6. การคัดเลือกทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำชีในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม คุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี จําเป็นต้องมีการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเสนอทางเลือกการพัฒนาลุ่มน้ำชีในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำชีใน 5 ทางเลือก ดังนี้
  • ทางเลือกที่ 1 ทางเลือกไม่ดําเนินการ (Business as usual)เป็นทางเลือกที่ไม่มีการดําเนินการใด ๆ ทําตามข้อเสนอนโยบาย แผน และแผนงานนั้น ๆ หรือไม่มีการดําเนินการเปลี่ยนแปลงไปจากทิศทางหรือแนวทางเดิมที่กําหนดไว้
  • ทางเลือกที่ 2 การพัฒนาเพื่อความจําเป็นพื้นฐานและพัฒนาพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืนเป็นทางเลือกการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อการดํารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และการจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝนให้เพียงพอ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ดินและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ลดความยากจนในพื้นที่ชนบท รูปแบบเกษตรพอเพียงหรือโคกหนองนาโมเดล
  • ทางเลือกที่ 3 การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตร แปรรูป การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ และมีน้ำสนับสนุนอุตสาหกรรมปัจจุบัน เป็นทางเลือกการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านภัยแล้ง น้ำท่วม น้ำเสีย โดยเฉพาะการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เมืองหลักเพื่อลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนชนบทและในเมือง
  • ทางเลือกที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำให้เต็มศักยภาพ มีน้ำสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่และการท่องเที่ยว (กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และกลุ่มท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์) เป็นทางเลือกเพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนในลุ่มน้ำ ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม เพิ่ม GRP ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ทางเลือกที่ 5 การพัฒนาเกษตรเชิงธุรกิจเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นทางเลือกการผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรชลประทานเพื่อสนองการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะฤดูแล้ง และเพิ่มมูลค่าน้ำในการผลิต (เกษตรเชิงธุรกิจ รวมการส่งออก) เพิ่ม GDP ของประเทศ

จากผลการมีส่วนร่วมในการกําหนดทางเลือกจากการจัดเวทีกลุ่มผู้ใช้น้ำลุ่มน้ำสาขาลุ่มน้ำชี 10 กลุ่ม (ครอบคลุมพื้นที่ 27 ลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำชี) กลุ่มผู้ใช้น้ำ 9 กลุ่ม เลือกทางเลือกที่ 3 มีเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มอําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น เลือกทางเลือกที่ 5ในการคัดเลือกทางเลือกที่มีความเหมาะสมใน 3 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ทางเลือกที่ 5การพัฒนาเศรษฐกิจโดยการเพิ่มน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำชีเป็นทางเลือกที่มีคะแนนสูงสุด ดังนั้นจึงได้เสนอทางเลือกที่ 3 เป็นแผนพัฒนาระยะสั้น และระยะกลาง และทางเลือกที่ 5 เป็นแผนระยะกลาง และระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำชีเพื่อให้ประชาชนมีความมั่งคั่ง และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสรุปแผนการพัฒนาในทางเลือกที่ 5 ได้ดังนี้

  • การพัฒนาเพื่อตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานและมีการกระจายการพัฒนาอย่างทั่วถึง•การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ•การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำชีในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม น้ำเสีย
  • การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตามศักยภาพน้ำในลุ่มน้ำชี
  • การพัฒนาเศรษฐกิจโดยการเพิ่มน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำชีเพื่อเสถียรภาพในการใช้น้ำ
  1. การจัดทําแผนการพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการจากทางเลือกที่คัดเลือกได้จัดทําแผนการพัฒนาทรัพยากรน้ำโดยคํานึงถึงความต้องการของประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำชีทั้ง10เวทีและการพิจารณาความเหมาะสมของทางเลือกการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำชีในมิติด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยจัดทําเป็นแผนการพัฒนาทรัพยากรน้ำในระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวดังนี้
    1. แผนงานระยะสั้น (ปีที่ 4-5) และระยะกลาง(ปีที่ 6-10) ของแผนยุทธศาสตร์ชาติได้กําหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายในข้อ1ถึงข้อ3ได้กําหนดทางเลือกที่3เป็นแผนการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำชีตามความต้องการส่วนใหญ่ของประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ลุ่มน้ำชีดังนี้
      1. แผนงานการแก้ไขปัญหาพื้นฐานประกอบด้วย การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคโครงการปรับปรุงประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการจัดการพื้นที่เกษตรน้ำฝน การจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน การนําน้ำที่ผ่านการบําบัดกลับมาใช้ใหม่ การปลูกป่า และการสร้างฝายต้นน้ำ
      2. แผนงานการบรรเทาภัยแล้ง น้ำท่วมและน้ำเสียประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน การปรับปรุง บํารุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าการป้องกันน้ำท่วม เช่น การปรับปรุงลําน้ำ การปรับปรุงระบบระบายน้ำและสิ่งกีดขวางทางน้ำการพัฒนาแก้มลิงในพื้นที่ป่าบุ่งป่าทาม การป้องกันการกัดเซาะตลิ่งตามความต้องการของท้องถิ่น
    2. แผนงานระยะกลาง(ปีที่ 9-10) และระยะยาว(ปีที่ 11-20) ของแผนยุทธศาสตร์ชาติได้กําหนดตามเป้าหมายข้อ4และข้อ5ได้เสนอทางเลือกที่5ในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำชีเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำใกล้เคียงการจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำชีมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีรายได้มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนประกอบด้วยแผนดังนี้

      แผนงานการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประกอบด้วย
      • การพัฒนาโครงการแหล่งน้ำเต็มศักยภาพประกอบด้วย การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางให้เต็มศักยภาพในลุ่มน้ำชี การพัฒนาระบบส่งน้ำ การพัฒนาโครงข่ายน้ำภายในประเทศ
      • การเพิ่มน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำชีโดยการผันน้ำโขง(ปตร.ห้วยหลวง)
  2. การบริหารจัดการในปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำชีประสบปัญหาในด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อปฏิบัติ และการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทรัพยากรน้ำดังนี้
    1. การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ
    2. การบริหารจัดการ กปภ./ประปาท้องถิ่น
    3. ปัญหาความล่าช้าของหน่วยงาน
    4. ปัญหาดินจากการขุดลอก
    5. การจัดการน้ำเสีย
    6. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
    7. การพัฒนาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
    8. การมีส่วนร่วม