สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
Book 1 of แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำชี
Language: Thai
22 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำชี แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำชี แม่น้ำชี
Publisher: คณะกรรมการลุ่มน้ำชี สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 3
Published: Jan 1, 2023
สภาพปัญหาและสาเหตุของสภาพการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งภายในลุ่มน้ำชี พบว่าในเขตพื้นที่ชลประทานมีสเหตุจากปริมาณฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาลและขาดช่วง ทำให้ปริมาณน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำ/ฝาย สำหรับเป็นน้ำตันทุนให้กับการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งไม่เพียงพอ รวมทั้งแหล่งเก็บกักน้ำบางแห่งยังไม่มีการบริหารจัดการและระบบส่งน้ำที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งในพื้นที่ด้านท้ายน้ำของระบบส่งน้ำได้ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน พบว่า สภาพพื้นที่มีความลาดขันรวมทั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งเก็บกักน้ำ ส่วนใหญ่พื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและภัยแล้งซ้ำซาก เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตอนขนของลุ่มน้ำสาขา และพื้นที่ด้านเหนือน้ำของแหล่งเก็บกักน้ำ นอกจากสาเหตุตังกล่าวข้างต้น การตัดไม้ทำลายป่า การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม การบริหารจัดการน้ำและกลุ่มผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ด้วย ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 1,192.47 มิลลิเมตร เป็นปริมาณฝนในช่วงฤดูฝน (พ.ค.-ต.ค.) 1,030.09มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 86.38 ของปริมาณฝนทั้งปี และปริมาณฝนในช่วงฤดูแล้ง (พ.ย.-เม.ย.) 162.39 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.62 ของปริมาณฝนทั้งปื พื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งเพื่อการเกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภคในพื้นที่นอกเขตชลประทานช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งปัญหาฝนไม่ตกตามฤดูกาลและเกิดฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมน้ำฝน และบางพื้นที่ยังมีแหล่งเก็บกักน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไต้แก่ พื้นที่บริเวณ .สุวรรณคูหา อ.นากลาง อ.ศรีบุญเรื่องอ.เมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู อ.บ้านแท่น อ.ภูเชียว จ.ชัยภูมิ อ.โนนสะอาด จ.อุตรธานี อ.กุตรัง อ.แกดำ จ.มหาสารคาม อ.ท่าคันโท อ.หนองกุงศรี อ.สามชัย อ.สหัสขันธ์ อ.ตอนจาน อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ อ.ทรายมูล อ.มืองยโสธร จ.ยโสธร อ.ศรีสมเด็จ อ.เมยวดี อ.หนองพอก อ.โพนทอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด และอ.ชนบท อ.พล อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำสาขาและพื้นที่ด้านเหนือน้ำของอ่างเก็บน้ำ
Description:
สภาพปัญหาและสาเหตุของสภาพการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งภายในลุ่มน้ำชี พบว่าในเขตพื้นที่ชลประทานมีสเหตุจากปริมาณฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาลและขาดช่วง ทำให้ปริมาณน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำ/ฝาย สำหรับเป็นน้ำตันทุนให้กับการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งไม่เพียงพอ รวมทั้งแหล่งเก็บกักน้ำบางแห่งยังไม่มีการบริหารจัดการและระบบส่งน้ำที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งในพื้นที่ด้านท้ายน้ำของระบบส่งน้ำได้ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน พบว่า สภาพพื้นที่มีความลาดขันรวมทั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งเก็บกักน้ำ ส่วนใหญ่พื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและภัยแล้งซ้ำซาก เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตอนขนของลุ่มน้ำสาขา และพื้นที่ด้านเหนือน้ำของแหล่งเก็บกักน้ำ นอกจากสาเหตุตังกล่าวข้างต้น การตัดไม้ทำลายป่า การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม การบริหารจัดการน้ำและกลุ่มผู้ใช้น้ำด้านต่างๆ ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ด้วย ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 1,192.47 มิลลิเมตร เป็นปริมาณฝนในช่วงฤดูฝน (พ.ค.-ต.ค.) 1,030.09มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 86.38 ของปริมาณฝนทั้งปี และปริมาณฝนในช่วงฤดูแล้ง (พ.ย.-เม.ย.) 162.39 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.62 ของปริมาณฝนทั้งปื พื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งเพื่อการเกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภคในพื้นที่นอกเขตชลประทานช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งปัญหาฝนไม่ตกตามฤดูกาลและเกิดฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมน้ำฝน และบางพื้นที่ยังมีแหล่งเก็บกักน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไต้แก่ พื้นที่บริเวณ .สุวรรณคูหา อ.นากลาง อ.ศรีบุญเรื่องอ.เมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู อ.บ้านแท่น อ.ภูเชียว จ.ชัยภูมิ อ.โนนสะอาด จ.อุตรธานี อ.กุตรัง อ.แกดำ จ.มหาสารคาม อ.ท่าคันโท อ.หนองกุงศรี อ.สามชัย อ.สหัสขันธ์ อ.ตอนจาน อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ อ.ทรายมูล อ.มืองยโสธร จ.ยโสธร อ.ศรีสมเด็จ อ.เมยวดี อ.หนองพอก อ.โพนทอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด และอ.ชนบท อ.พล อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำสาขาและพื้นที่ด้านเหนือน้ำของอ่างเก็บน้ำ