แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำมูล

แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำมูล

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

Book 1 of แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง พ.ศ. 2566 ลุ่มน้ำมูล

Language: Thai

Published: Jan 1, 2023

Description:

สภาพปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล 1) ศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุนมีจำกัด ไม่มีศักยภาพในการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มาก (มากกว่า 500 ล้าน ลบ.ม.) ที่จะมีผลในระดับลุ่มน้ำสาขา อีกทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 74.1 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ จึงมีข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่ชลประทานให้เต็มศักยภาพ เพราะไม่สามารถจัดการแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ได้ การใช้น้ำในพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะการใช้น้ำท่าหรือเก็บกักน้ำไว้ในพื้นที่ โดยก่อสร้างฝาย สถานีสูบน้ำ หรือการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ งสามารถเสริมปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ส่วนในฤดูแล้งจึงไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ 2) การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในบริเวณพื้นที่รับน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำลำตะคองจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเก็บกักน้ำไว้ใช้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 3) ปัญหาด้านการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้าน หรือบ่อน้ำบาดาลสาธารณะ และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่รวมถึงระบบสูบน้ำเพื่อชลประทานที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อสร้าง แล้วถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล ซึ่งมีปัญหาขาดบุคลากรที่มีความรู้ และขาดงบประมาณในการดูแลบำรุงรักษา ทำให้ระบบทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 4) ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของชุมชน เช่น ในจังหวัดนครราชสีมา ที่มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาทั้งทางภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และจังหวัดส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลที่มียุทธศาสตร์ด้านการเกษตร ทั้งการเพิ่มศักยภาพการผลิตและการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ทำให้ปริมาณน้ำที่เก็บกักได้และความต้องการในการใช้น้ำไม่สมดุลกัน 5) พื้นที่ป่าตันน้ำลำธารที่ยังคงเป็นสภาพป่าจริงมีปริมาณน้อยและอยู่ในระดับความวิกฤตที่รุนแรงมาก ทำให้พื้นที่ต้นน้ำในลุ่มน้ำมูลซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำไม่มีป่าดูดซับน้ำหรือชะลอน้ำฝนให้ซึมลงไปเก็บกักในดินได้มากเหมือนเช่นเดิม 6) ปริมาณน้ำทำในฤดูแล้งมีปริมาณน้อยมาก และไม่มีการเก็บกักน้ำที่เพียงพอ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบชลประทานถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้ลำน้ำหลักหรือลำน้ำสาขา